ตัวอย่าง การเขียนประวัติส่วนตัว แบบที่4
การเขียนประวัติส่วนตัว มีอะไรบ้าง จะเขียนส่งครู หรือเพื่อสมัครงาน
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ตัวอย่าง การเขียนประวัติส่วนตัว แบบที่2
ตัวอย่าง การเขียนประวัติส่วนตัว แบบที่2
ชื่อ-สกุล : (เป็นชื่อ-นามสกุลจริงครับ ห้ามปลอม)
อายุ : (แล้วแต่จะแถม)
เบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อกลับ : (แล้วแต่จะใส่ แต่ใส่ก็ดีครับ เพราะบางสนพ.แจ้งข่าวทางนี้)
E-mail สำหรับติดต่อกลับ : (เป็น E-mail ที่ติดต่อได้จริง จะใช้ mail ที่ใช้ส่งสนพ.ก็ได้ หรือเพิ่มเติมเมลอื่นเข้าไปด้วยก็ได้)
ปัจจุบันเรียนหรือทำงาน : (บอกคณะ ถ้าทำงานแล้วก็บอกว่า ทำงานอะไรครับ)
ผลงานที่ผ่านมา : (ใส่ได้ทั้งแบบที่ตีพิมพ์เป็นเล่มแล้วและแบบที่ไม่ได้ตีพิมพ์ครับ ในส่วนที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์แนบลิงก์ไปด้วย เผื่อทางบ.ก.สนใจเข้ามาอ่านครับ ^ ^ เรียงกันไปตามหัวข้อใหญ่คือ "ที่ตีพิมพ์แล้ว" และ "ลงเว็บ" คิดหัวข้อดีกว่าผมก็ใส่ตามสบายฮะ ผมคิดแบบตรงๆ เลยได้มาแบบนี้ ฮ่าๆๆ)
ผลงานส่งพิจารณากับทางสนพ. : (ใส่ชื่อเรื่องและลิงก์ผลงาน อันนี้ของผมปกติไม่ใส่ เพราะเขียนในจดหมายแล้ว)
แนวงานที่ถนัด : (จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ แล้วแต่ครับ)
ตัวอย่าง การเขียนประวัติส่วนตัว แบบที่1
ประวัติส่วนตัวของฉันเองนี่แหล่ะค่ะ เขียนแล้วเขียนอีก
ชื่อ กาญจนา
ชื่อเล่น: อร
วันเกิด: 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2524
นิสัย- บุคลิกส่วนตัว: เป็นคนเรียบง่าย สบายๆ ฮาๆ ...ชอบเสียงหัวเราะ ...ไม่ชอบซีเรียส ...ติดตลก สนุกสนาน ..บ้า ..บอ... ตามประสา เคอะๆ.. เอ๋อๆ ... รู้จักกาละเทศะ ...อ่อนน้อมถ่อมตน ...แต่ไม่เจ้าระเบียบนะจ้ะ .. ขี้อ้อน... ขี้งอน... บางครั้งเอาแต่ใจตัวเอง... เป็นตัวของตัวเอง มีความมั่นใจตัวเองสูง... ชอบเป็นผู้นำ(บางครั้ง)...จริงจังกับบางเรื่องที่สมควร เช่น เรื่องเรียน...เรื่องงาน...ดูภายนอกเหมือนจะเรียบร้อย...แต่ตัวตนที่แท้จริง ฮา! มาก
คติ: - Everything is possible ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปได้ทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ จริงม่ะ... ถ้าเราตั้งใจจะทำมัน
- ความอดทนเป็นสิ่งที่ขมขื่น แต่ผลของมันก็หวานชื่นเสมอ ^ _ ^
- หนักแน่น อดทน และเข้มแข็ง สามคำนี้ใช้เป็นประจำ ใช้ได้ทุกสถานการณ์ด้วยนะ ^ _ ^
การแต่งตัว: ชอบดูอะไรที่เป็นแบรนด์ แต่ไม่ค่อยชอบซื้อ จะซื้อแบรนด์จริงๆก็ช่วงลดราคา ถ้าราคาเต็มจะไม่ค่อยแต่ะนะ เสียดายเงิน อิอิ ...นอกจากแบบว่าชอบจริงๆ อยากได้จริงๆอ่ะ ถึงจะซื้อที... เสื้อยืด กางเกงยีนส์ ..จะไปไหน ก็ไปได้แล้ว แต่ก็ต้องดูกาละเทศะด้วยนะ....
สีที่ชอบ: ฟ้า ชมพูหวานๆ ดำ ขาว น้ำตาล ครีม แดง (ชอบสุด สีชมพู ชอบซื้อสิ่งของที่เป็นสีชมพู...ซะส่วนมาก)
กิจกรรมยามว่าง:(งานถัก นิตติ้ง โครเชต์ งานปัก ครอสติส ชอบทำหมด )ฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูละครไทย แชท เล่นเน็ต
เมนูที่ชอบ: กินได้หมด โดยเฉพาะฝีมือตัวเอง เพราะเป็นคนชอบทำอาหาร (ถ้ามีเวลา) แต่ต้องครบหลักห้าหมู่ไว้ก่อน... เน้นผัก
ของสะสม: แสตมป์ (โดยเฉพาะแสตมป์ไทย ), นาฬิกา,น้ำหอม เครื่องประดับ (ชอบซื้อ...แต่ไม่ค่อยชอบใส่)โมเดลรถ.... ตุ๊กตาขนฟูนุ่ม .....
เมนูที่ชอบทำ: ทำได้ทั้งอาหารไทย และอาหารนานาชาติ แต่ถนัดไทยที่สุด ชอบเรียนรู้การทำเค้ก ถ้ามีเวลาจะหัดเรียนให้มากกว่านี้
(((Work Experience ประวัติการทำงาน )))
Year 2005 - 2006 worked at Territorial army and moved to Wellington Barracks ,London ,Uk
Year 2006 - 2009 A shop manager in Thailand.
((( Education ประวัติการศึกษา))))
-Ban Huo Talae School ,Nakhonratchasima ,Thailand (Primary School)
-ศึกษาระดับอนุบาล โรงเรียนบ้านหัวทะเล จังหวัดนครราชสีมา
-Tetsabal 1 Burapawittayakorn school,Nakhornratchasima,Thailand
-ศึกษาระดับประถม โรงเรียนเทศบาล 1 บูรพาวิทยากร
-1997-1999 Science-Mathematics, Environment Reservation ,social study and English ,Boonwattana School ,Thailand pass.
-จบมัธยมปลาย โรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา แผนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
-2000 Studied BBA Marketing at Vongchavalitkul University
,Thailand
-2012 Numeracy certificate Tower Hamlets College, London, Uk.
-จบสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ฟาวเดชั่นlevel ที่วิทยาลัยทาวเวอร์แฮมเมซ ,ลอนดอน ,ประเทศอังกฤษ ด้วยผลการเรียน เกรด A
-2012 Esol certificate reading awarded Tower Hamlets College, London, Uk.
- ได้รับรางวัลอวอร์ด และประกาศนียบัตรการอ่าน จากวิทยาลัย ทาวเว้อร์แฮมเมซ ลอนดอนประเทศอังกฤษ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
-2012 Esol certificate speaking and listening awarded Tower Hamlets College, London , Uk.
- ได้รับรางวัลอวอร์ด และประกาศนียบัตรการพูด และการฟัง จากวิทยาลัย ทาวเว้อร์แฮมเมซ ลอนดอนประเทศอังกฤษ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
-2012 Literacy certificate (speaking, listening, reading and writing) awarded Tower Hamlets College, London, Uk.
-ได้รับรางวัลอวอร์ด และประกาศนียบัตรการพูด การฟัง และการอ่านจากวิทยาลัย ทาวเว้อร์แฮมเมซ ลอนดอนประเทศอังกฤษ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
-2012 Studied Introduction Anatomy and Physiology course,London
-ศึกษาวิชากายภาคศาสตร์ วิชาร่างกายมนุษย์และสรีระวิทยา ที่ศูนย์การศึกษา ทาวเวอร์แฮมเมซ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
-2012 Studied IT course ,London
-ศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้เบื้องต้นของคอมพิวเตอร์และประวัติความเป็นมา
- นอกจากนี้แล้ว ในปี2012 ศึกษาเรื่องพฤติกรรมของเด็กและการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็ก ตลอดจนการศึกษาถึงแนวทางการป้องกันและการเรียนรู้ภัยที่อาจจะเกิดแก่เด็ก โดยผู้สอนจบปริญญาเอก
-2013 Studied GCSE Maths Higher level courseAt Tower Hamlets college,London
-2013 Studied Literacy ,London
การเขียนประวัติส่วนตัวเพื่อสมัครงานห้องสมุดและบรรณารักษ์
การเขียนประวัติส่วนตัวเพื่อสมัครงานห้องสมุดและบรรณารักษ์
ช่วงต้นปีแบบนี้ เรื่องเด่นของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ (จริงๆ ทุกวงการนั่นแหละ) จะพูดถึงเรื่องการรับสมัครงานกันเยอะพอสมควร คงเพราะเป็นฤดูที่เราต้องต้อนรับน้องๆ ที่จะจบจากมหาวิทยาลัยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ เพื่อให้น้องๆ ได้เตรียมพร้อม (รุ่นพี่ๆ บางคนที่ต้องการแนวทาง) ผมจึงขอนำเสนอเรื่องการเขียนประวัติส่วนตัว หรือ Resume เพื่อสมัครงานในห้องสมุดมาให้อ่าน
ภาพจาก http://www.thaihowabout.com
ปล.ตัวอย่างหลักๆ จะเป็นภาษาอังกฤษนะครับ น้องๆ เพื่อนๆ พี่ๆ สามารถแปลให้เป็นภาษาไทยก็ได้ ผมเชื่อในความสามารถของทุกท่านอยู่แล้ว
จริงๆ แล้วการสมัครงานในบางห้องสมุดหรือบางบริษัท เขาจะมีแบบฟอร์มในการกรอกข้อมูลอยู่แล้ว ซึ่งเพื่อนๆ สามารถใช้ได้เลย แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าห้องสมุดหรือบริษัทที่เราจะสมัครงานมีแบบฟอร์มอยู่แล้วดังนั้นเพื่อความไม่ประมาทการที่เรามีประวัติส่วนตัว หรือ Resume นับว่าเป็นการเตรียมพร้อมที่ดี
ข้อมูลที่ต้องมีในใบประวัติส่วนตัว (Resume)
1. ข้อมูลส่วนตัว
- ชื่อ นามสกุล
- วันเดือนปีเกิด (อายุ)
- ที่อยู่
- อีเมล์
- เบอร์โทรศัพท์
2. ข้อมูลด้านการศึกษา
- ประถม / มัธยม / อุดมศึกษา
- การเรียนนอกหลักสูตร เช่น ภาษาอังกฤษสำหรับห้องสมุด
3. ข้อมูลการฝึกงาน – ทำงาน
- ประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมตอนเรียนในมหาวิทยาลัยก็ได้
- ฝึกงานที่ไหน หน้าที่อะไร ระยะเวลาเท่าไหร่
- ทำงานที่ไหนมาบ้าง งานเสริม งานประจำ
4. ความสามารถพิเศษ หรือลักษณะนิสัยส่วนตัว
- ความสามารถด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใส่ชื่อโปรแกรมได้เลย
- ความสามารถทางภาษาอยู่ในระดับไหน
ผมขอย้ำเรื่องการเขียนประวัติส่วนตัว (Resume) นิดนึงนะครับ ว่าข้อมูลที่เขียนต้องเป็นความจริง อย่าคิดว่าเขียนเพื่อให้ประวัติตัวเองดูสวยงาม เพราะถ้าหากทางหน่วยงานจับได้ มันจะไม่เป็นผลดีกับเรานะครับ
อ๋อ ลืมบอกด้านบนสุดทางขวามือ เอารูปปัจจุบันมาติดด้วยก็ดีนะครับ (รูปแบบทางการนะครับ)
เมื่อได้ประวัติส่วนตัวแล้ว ทีนี้ก็ได้เวลาหาที่ทำงานแล้ว ลองค้นหาดูนะครับ เชื่อว่าเดือนนี้และเดือนหน้างานเพียบแน่นอน เมื่อรู้แล้วว่าจะสมัครที่ไหนก็เตรียมส่งประวัติส่วนตัวไปให้เขาพิจารณากันได้เลย
ปล.ตัวอย่างหลักๆ จะเป็นภาษาอังกฤษนะครับ น้องๆ เพื่อนๆ พี่ๆ สามารถแปลให้เป็นภาษาไทยก็ได้ ผมเชื่อในความสามารถของทุกท่านอยู่แล้ว
จริงๆ แล้วการสมัครงานในบางห้องสมุดหรือบางบริษัท เขาจะมีแบบฟอร์มในการกรอกข้อมูลอยู่แล้ว ซึ่งเพื่อนๆ สามารถใช้ได้เลย แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าห้องสมุดหรือบริษัทที่เราจะสมัครงานมีแบบฟอร์มอยู่แล้วดังนั้นเพื่อความไม่ประมาทการที่เรามีประวัติส่วนตัว หรือ Resume นับว่าเป็นการเตรียมพร้อมที่ดี
ข้อมูลที่ต้องมีในใบประวัติส่วนตัว (Resume)
1. ข้อมูลส่วนตัว
- ชื่อ นามสกุล
- วันเดือนปีเกิด (อายุ)
- ที่อยู่
- อีเมล์
- เบอร์โทรศัพท์
2. ข้อมูลด้านการศึกษา
- ประถม / มัธยม / อุดมศึกษา
- การเรียนนอกหลักสูตร เช่น ภาษาอังกฤษสำหรับห้องสมุด
3. ข้อมูลการฝึกงาน – ทำงาน
- ประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมตอนเรียนในมหาวิทยาลัยก็ได้
- ฝึกงานที่ไหน หน้าที่อะไร ระยะเวลาเท่าไหร่
- ทำงานที่ไหนมาบ้าง งานเสริม งานประจำ
4. ความสามารถพิเศษ หรือลักษณะนิสัยส่วนตัว
- ความสามารถด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใส่ชื่อโปรแกรมได้เลย
- ความสามารถทางภาษาอยู่ในระดับไหน
ผมขอย้ำเรื่องการเขียนประวัติส่วนตัว (Resume) นิดนึงนะครับ ว่าข้อมูลที่เขียนต้องเป็นความจริง อย่าคิดว่าเขียนเพื่อให้ประวัติตัวเองดูสวยงาม เพราะถ้าหากทางหน่วยงานจับได้ มันจะไม่เป็นผลดีกับเรานะครับ
อ๋อ ลืมบอกด้านบนสุดทางขวามือ เอารูปปัจจุบันมาติดด้วยก็ดีนะครับ (รูปแบบทางการนะครับ)
เมื่อได้ประวัติส่วนตัวแล้ว ทีนี้ก็ได้เวลาหาที่ทำงานแล้ว ลองค้นหาดูนะครับ เชื่อว่าเดือนนี้และเดือนหน้างานเพียบแน่นอน เมื่อรู้แล้วว่าจะสมัครที่ไหนก็เตรียมส่งประวัติส่วนตัวไปให้เขาพิจารณากันได้เลย
13 เคล็ดลับในการเขียนประวัติส่วนตัวให้ถูกต้อง
13 เคล็ดลับในการเขียนประวัติส่วนตัวให้ถูกต้อง
การสร้างประวัติส่วนตัวที่ทำให้ผู้คัดเลือกสะดุดตาและให้ความสนใจนั้นไม่ใช่เรื่องยาก นี่คือเคล็ดลับที่ช่วยทำให้ประวัติส่วนตัวกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจและคุ้มค่ากับการสละเวลามาอ่าน
ควรเขียนประวัติส่วนตัวอย่างไรในสภาวะที่ต้องแก่งแย่งกับผู้ที่จบการศึกษาใหม่และผู้สมัครงานท่านอื่นๆมากมาย คุณสมบัติที่แท้จริงที่ทำให้คุณชนะใจผู้คัดเลือกและตัดสินใจจ้างคุณเข้าไปทำงานในตำแหน่งต่างๆคืออะไร? มันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและการกระทำในช่วงโอกาสที่คุณได้รับซึ่งไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด เช่น ข้อบกพร่องในการแต่งกาย น้ำหอมที่ใช้ ทักษะคำพูดที่ใช้กับผู้อื่น เป็นต้น
การเขียนประวัติส่วนตัวก็คือ การวางแผนการตลาดให้กับตนเองในขั้นพื้นฐาน เป็นการประกาศให้ทราบว่าคุณมีความสามารถและทักษะคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานในด้านใด
ควรลืมการถ่อมตัวของตนเองไปให้หมดในเรื่องนี้ เช่นที่ เจ ไมเคิล ฟาร์
ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบอาชีพกล่าวไว้ในวารสารออนไลน์ที่เว็บไซต์ Vidbook.com ว่า “ประวัติส่วนตัวไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่และทักษะความสามารถ”
ดังนั้นควรทำอย่างไรเพื่อให้เป็นประวัติที่เหมาะสม น่าสนใจ และไม่ใช่การโอ้อวดมากจนเกินไปเหมือนที่พวกนักการเมืองชอบทำ และควรระบุคุณสมบัติใดลงไปในประวัติส่วนตัวนั้นมากที่สุด?
จำไว้ว่า ประวัติส่วนตัวไม่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ได้งานทำอย่างเดียว แต่เป็นการเปิดโอกาสสำหรับตนเองในการสัมภาษณ์งาน ซึ่งจะนำไปสู่การจ้างงานต่อไป แต่ควรคำนึงถึงเป้าหมายในระยะยาวด้วยเช่นกัน ประการแรก ประวัติส่วนตัวควรจะช่วยให้คุณสามารถผ่านเข้าสู่การคัดเลือกและการสัมภาษณ์ให้ได้ พนักงานฝ่ายสรรหาว่าจ้างบุคคลากรที่ดีจะให้ความสนใจใบสมัครที่น่าสนใจเท่านั้น ดังนั้นควรทำอย่างไรเพื่อให้พวกเขาสนใจในตัวคุณมากเพียงพอที่จะนัดมาสัมภาษณ์
นี่คือ 13 ข้อแนะนำในการเขียนประวัติส่วนตัวแบบมืออาชีพเพื่อนำคุณไปสู่การสัมภาษณ์งาน
จัดกลุ่มข้อมูลประเภทเดียวกัน
เพิ่มรายละเอียดต่างๆลงไปบนหน้าประดาษ เช่น ข้อมูลในการติดต่อกลับ ประวัติการทำงานและความสำเร็จที่ได้รับ ข้อมูลด้านการศึกษา การเข้าร่วมสัมมนาต่างๆ เกียรติประวัติที่เคยได้รับ ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลส่วนตัว ฯลฯ ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการเขียน เพียงแค่อย่าลืมใส่รายละเอียดข้อมูล ความสำคัญ และความสามารถที่เกี่ยวข้องก็เพียงพอแล้ว
เริ่มต้นด้วยชื่อและข้อมูลในการติดต่อกลับ
ข้อมูลเพื่อให้ติดต่อกลับควรจะอยู่ด้านขวาบนสุด ถัดจากชื่อและข้อมูลอ้างอิง เพื่อให้สะดวกต่อการค้นหา รวมทั้งรายละเอียดดังต่อไปนี้: ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน เบอร์โทรศัพท์บ้านและมือถือ เบอร์แฟกซ์ และอีเมล์ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะอย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่าคุณมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์
ระบุเป้าหมายในการทำงาน
การบอกจุดมุ่งหมายในการทำงาน “เป็นแนวทางที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นตัวคุณและสิ่งที่คุณสนใจได้” อ้างอิงจาก VirtualResume.com บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการรับสมัครงานออนไลน์ ถ้าสนใจตำแหน่งงานใด ก็ควรระบุเป้าหมายในการทำงานให้สอดคล้องกับชื่อตำแหน่งหรืองานนั้น เช่น ผู้จัดการด้านบัญชี เป็นต้น
แต่ถ้าหากคุณต้องการเปิดโอกาสให้กว้างสำหรับตนเอง ก็สามารถทำได้โดยการเขียนรายละเอียดและลักษณะงานทั่วๆไปที่คุณสนใจ (เช่น ต้องการใช้ความสามารถของตนเองในด้านการเงินและการบริหารเพื่อทำงานในตำแหน่งการจัดการระดับอาวุโส โดยมุ่งหวังให้ตนเองมีได้รับความสำเร็จไปพร้อมๆกับความก้าวหน้าขององค์กร เป็นต้น) ควรระมัดระวังในการระบุเป้าหมายเหล่านี้ เช่น “ตำแหน่งงานนี้มีความเหมาะสมกับคุณสมบัติที่ตนเองมีอยู่” หรือ “เพื่อดำเนินการตามที่สมควรจะทำ” เป็นต้น
ให้รายละเอียดคุณสมบัติของตนเองโดยสรุปอย่างสั้นๆ
ซินเธีย บุยซา พนักงานฝ่ายบุคคลและฝ่ายประสานงานขององค์กร เอ็น จี โอ ในประเทศไทย กล่าวว่า เธอรู้สึกชื่นชม ผู้ที่เขียนประวัติส่วนตัวโดยระบุความสามารถของตนเองได้อย่างชัดเจนและไม่เยิ่นเหย่อจนเกินไป
“ฉันประทับใจผู้สมัครท่านหนึ่งที่จุดแข็งของตนเองเป็นอย่างดี แต่นั่นก็ยังไม่สำคัญเท่ากับการที่เขาสามารถทำให้เราเชื่อถือในความสามารถของเขาจากการอ่านประวัติเพียงย่อหน้าเดียวได้” เป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆที่มีส่วนในการพิจารณาผู้สมัคร เธอกล่าวเพิ่มเติมว่า มันเป็นจุดเด่นที่สื่อถึงความคิดได้อย่างชัดเจนและทำผู้สมัครท่านนั้นโดดเด่นออกมาจากกลุ่มผู้สมัครอื่นเป็นพันคน
บทสรุปสำหรับความสามารถและคุณสมบัติของตนเองควรประกอบด้วย:
ประสบการณ์ในการทำงาน (ระบุเป็นเดือน,ปี)
สาขางานที่เชี่ยวชาญและให้ความสนใจเป็นพิเศษ (เช่น ตอนอายุ 26 ปี เคยเป็นพนักงานอายุน้อยที่สุดในบริษัทที่ได้เลื่อนตำแหน่งมาเป็นผู้จัดการ)
ทักษะและความสามารถเฉพาะตัว (เช่น เป็นอาจารย์พิเศษให้สถาบันเอสเอพี)
ข้อมูลอื่นๆควรเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานนั้นโดยตรง
ควรเขียนสรุปประวัติของตนเองให้น่าเชื่อถือโดยให้ความสำคัญกับข้อแนะนำด้านบน แต่อย่า ลืมว่าต้องเขียนโดยสรุปไม่ควรเกินสองถึงสามประโยคเท่านั้น
เริ่มต้นด้วยการระบุประสบการณ์ในการทำงาน
ถ้าคุณไม่ใช่ผู้ที่พึ่งสำเร็จการศึกษา คุณควรจะเริ่มการเขียนประวัติส่วนตัวของคุณโดยการเล่าประวัติการทำงานที่ผ่านมาของตนเอง เริ่มจากตำแหน่งงานล่าสุด แล้วค่อยไล่เรียงถอยหลังไปตามลำดับ พร้อมทั้งระบุชื่อบริษัท ระยะเวลาที่ทำงานรวมทั้งหน้าที่หลักและความรับผิดชอบในตำแหน่งงานเหล่านั้นด้วย
“ไม่ควรปกปิดข้อมูลดังต่อไปนี้ ควรให้รายละเอียดให้ครบทุกด้าน” ควรเปิดเผยประสบการณ์ที่คุณได้รับตามลำดับเพื่อแสดงจุดแข็งและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานของตนเอง
อีกประการหนึ่ง การเปลี่ยนงานอย่างรวดเร็ว หรือการย้ายไปทำงานในองค์กรใหม่ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือเปลี่ยนงานบ่อยจนไม่สามารถบอกรายละเอียดทั้งหมดได้ จะนำไปสู่ปัญหาในเรื่องจรรยาบรรณในการทำงาน ความมั่นคง ความซื่อสัตย์ ฯลฯ นั่นเป็นเหตุผลที่ไม่ควรทำให้เกิดช่องว่าตรงจุดนี้ ดังนั้นควรระบุประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมาทั้งงานอดิเรกและงานประจำ (เช่น“ปี 1990- 1993 ดูแลครอบครัว” หรือ “ปี 1998- 1999 ทุ่มเทให้การเรียนและท่องเที่ยว”)
เน้นความสำคัญของความสำเร็จที่เคยได้รับ
เมื่อบรรยายประสบการณ์การทำงานของตนเอง อย่าลืมให้รายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง รายละเอียดที่ระบุไว้ในประวัติส่วนตัวจะช่วยประหยัดเวลาในการสัมภาษณ์งาน พร้อมทั้งเน้นย้ำความสำเร็จที่เคยได้รับจากการทำงาน โดยการใช้ตัวเลข แผนภาพ หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ในกรณีที่ทำได้ เช่น
เดือนกันยายน ปี 1994 ทำหน้าที่เป็นผู้สรุปผลการประชุมประจำปีขององค์กร ที่เมืองเซนต์ หลุยส์ รัฐมิสซูรี ประเทศสหรัฐอเมริกา (ตัวอย่าง) เคยได้รับเกียรติให้เป็นผู้บรรยายด้านการคัดเลือกบุคคลากร เกี่ยวกับเรื่องปัจจัยสำคัญที่ใช้ประเมินความสามารถของผู้สมัครงาน คำอธิบายเหล่านี้เป็นคำที่แสดงให้เห็นว่าผู้สมัครเป็นผู้ที่มีจุดมั่งหมายในการทำงาน มีความกระตือรือร้น หรือใช้คำที่สื่อความหมายดังนั้น เช่น “ทำสำเร็จ ประสบความสำเร็จ วิเคราะห์ ใส่ใจทุกรายละเอียด ก่อตั้ง” เป็นต้น
คำอื่นๆที่เหมาะสำหรับใช้บรรยายเกี่ยวกับการทำงาน เช่น “รับผิดชอบด้านการติดต่อและ ประสานงานโดยตรง” หรือ “รับผิดชอบการบริหารโครงการด้วยเงินทุนเพียง 12 ล้านบาท พร้อมด้วยพนักงาน 4 ท่าน และสำนักย่อยอีก 3 สาขา ดูแลแผนการดำเนินงาน ซึ่งสามารถ เพิ่มรายได้มากขึ้นถึง 20% ภายในระยะเวลาเพียงสามเดือน”
ให้ความสำคัญกับข้อมูลด้านการศึกษา
ถ้าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาใหม่และไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ควรเริ่มจากประวัติการศึกษา เกียรติประวัติที่เคยได้รับ และกิจกรรมนอกหลักสูตรที่เคยเข้าร่วม และอย่าคิดว่าผลการเรียนไม่ใช่สิ่งสำคัญในโลกของความเป็นจริง เพราะอย่างน้อยก็แสดงถึงความรับผิดชอบในขณะนั้น
เฟรด ดาเมียน หุ้นส่วนของบริษัทคัดเลือกบุคคลากร เอิร์นแอนด์ยัง ในกรุงมะนิลา บอกว่านายจ้างที่ดีจะให้โอกาสแก่คนรุ่นใหม่แก่ผู้ที่มีผลการเรียนดี หรือมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมนอกหลักสูตร และมีทักษะในการจัดการซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีคุณสมบัติของผู้นำและมีความสามารถในด้านการประสานงาน ดังนั้นจึงควรระบุข้อมูลเหล่านี้เข้าไปด้วย
ไม่ควรระบุข้อบกพร่องของตนเองลงไป เช่น เคยถูกตักเตือนจากคณะบดีตั้งแต่ปีหนึ่งเทอมแรก และไม่เคยได้ได้รับการตักเตือนอีกเลย มันก็อาจจะเป็นเพียงแค่การตักเตือนทั่วไปเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานอ้างอิงเสมอไป อย่างน้อยก็ช่วยให้คุณไม่ต้องเตรียมคำตอบสำหรับเรื่องที่อธิบายได้ยากลำบากและอาจทำให้คุณพูดติดขัดในระหว่างการสัมภาษณ์ได้ ข้อมูลด้านการศึกษาควรจะเป็นด้านบวกและมีเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เห็นว่า คุณพร้อมแล้วที่จะก้าวเข้าสู่โลกของการแข่งขันในการทำงาน
นอกจากนี้ ควรระบุทักษะและความสามารถพิเศษเพิ่มเติมเข้าไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ ในประวัติส่วนตัว ควรมีการระบุหัวข้อ วันเวลา ผลที่ได้รับ และกำหนดการเข้ารับการฝึกฝนทั้งด้านกิจกรรมในและนอกหลักสูตรการเรียน นับตั้งแต่การเข้าร่วมสัมมนาต่างๆ โดยระบุลงไปให้ชัดเจน อย่าใช้บอกเพียงแค่ “ด้านคอมพิวเตอร์” แต่ควรบอกว่า “เป็นการอบรมด้านโปรแกรมเกี่ยวกับรูปภาพต่างๆขั้นพื้นฐาน จากสถาบัน เอสเอพี” เป็นต้น และถ้าคุณมีความสามารถทางด้านภาษามากกว่าหนึ่งภาษา ก็ควรระบุลงไปด้วยเช่นกัน
ในกรณีที่มีหรือไม่มีการอ้างอิง
มีสองสถาบันที่มีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องดังกล่าว สถาบันแรกบอกว่า การอ้างอิงเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่อีกสถาบันหนึ่งบอกว่ามันขึ้นอยู่กับความยาวของประวัติส่วนตัวต่างหาก ดังนั้นข้อมูลส่วนนี้จึงขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตาม ดาเมียน กล่าวว่า “การอ้างอิงเป็นข้อมูลที่ขึ้นอยู่กับตัวผู้สมัครเอง” “จะระบุหรือไม่ก็ย่อมได้” “จุดประสงค์ในการตั้งหัวข้อว่า ผู้อ้างอิง ก็คือ ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณเอง” แต่ถ้าคุณกล่าวถึงบุคคลอ้างอิง ต้องบอกข้อมูลในการติดบุคคลเหล่านั้นด้วย โดยเฉพาะเบอร์โทรศัพท์และอีเมล์ และเวลาที่สะดวกในการสอบถามพวกเขาด้วย
มีการสำรองข้อมูลเก็บเอาไว้
ในประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในการสมัครงาน เช่น “นายจ้างไม่มีสิทธิ์สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลจำพวก อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา สถานะภาพตามกฎหมาย สุขภาพ ภาพลักษณ์ของผู้สมัคร หรือนิสัยส่วนตัว” ซึ่งหาคำอธิบายได้ที่ศูนย์ ไรท์ติ้งเซ็นเตอร์ ใน สถาบัน เรนเซลเลอร์ โพลีเทคนิค บางครั้งมีการถามลึกไปถึงถิ่นกำเนิด แต่ควรจะปล่อยให้อยู่ในส่วนของข้อมูลเพิ่มเติมเท่าที่จะสามารถระบุลงไปได้เป็นการดีที่สุด เพื่อให้เหลือที่ว่างเอาไว้บ้าง ในส่วนนี้จะกล่าวถึงชื่อและอาชีพของบิดามารดา งานอดิเรก ความสนใจ สถานที่เกิด ฯลฯ ที่ไม่สำคัญในการสัมภาษณ์
ข้อมูลต้องชัดเจน
ประวัติส่วนตัวควรจะใช้เวลาในการอ่านไม่เกิน 30 วินาที หรือน้อยกว่านั้น ดังนั้นต้องทำให้กระชับและตรงประเด็น ใช้จุดหรือเส้นใต้เพื่อเน้นข้อมูลที่สำคัญ มีช่องว่างให้พักสายตา มีการขีดเส้น และมีหมายเลขกำกับเพื่อเพิ่มความชัดเจน ประวัติส่วนตัวตามมาตรฐานควรมีความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ มีสามหน้าได้ในกรณีที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากมาย ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการปรับปรุงประวัติส่วนตัวอย่างจริงจัง
อ่านทบทวนเพื่อหาข้อผิดพลาด
ไม่ควรมีการพิมพ์หรือสะกดคำผิดปรากฏในประวัติส่วนตัว เมื่อมีการใช้ตัวเลข ตรวจสอบให้แน่ใจว่าว่างเครื่องหมายคั่นไว้ถูกต้องตามตำแหน่ง ควรตรวจสอบการใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆและวันที่ให้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2000 ในจุดหนึ่ง แต่จุดอื่นใช้ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2000 วันที่ 2 เป็นต้น
ทำให้อ่านง่าย
ประวัติส่วนตัวควรจัดให้อยู่ในรูปแบบที่อ่านง่าย พิมพ์ตัวอักษรชัดเจน และไม่ทำให้เกิดความสับสนหรือเวียนหัวเมื่ออ่านประวัตินั้น ดังนั้นจึงควรเขียนประวัติส่วนตัวให้สะอาด มีช่องว่างเหมาะสม และตัวอักษรขนาดไม่ต่ำกว่า 10 และใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย (เช่น ไทม์ นิวโรมัน หรือ การามอนด์) การขีดเส้นใต้และการทำตัวหนาควรใช้เพื่อเน้นข้อความที่สำคัญหรือเพื่อเปลี่ยนประเด็นเท่านั้น
จุดสำคัญอื่นๆ: ใช้เครื่องพิมพ์เอกสารแบบเลเซอร์ ซึ่งมีราคาถูกและใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปในยุคปัจจุบันได้ เพื่อไม่ให้มีปัญหาในการใช้เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (ink jet) ซึ่งมีโอกาสได้เอกสารที่เปรอะเปื้อนมากกว่า ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีรอยเปื้อนหรือตัวอักษรเลอะเลือน
ประการสุดท้าย ใช้กระดาษที่มีคุณภาพ สีขาวหรือสีอื่นก็ได้ ไม่ควรใช้สีฉูดฉาดในการพิมพ์ เช่น สีฟ้า หรือสีเขียว หรือตัวอักษรที่มีลูกเล่นและมีมิติ ควรเน้นให้อ่านง่ายไว้เป็นการดีที่สุด
ข้อแนะนำเพิ่มเติม: เมื่อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรทดลองให้เพื่อนสนิทหรือเพื่อนร่วมงานช่วยอ่านทดสอบก่อน แล้วฟังความคิดเห็นจากพวกเขา โดยเฉพาะความยาก- ง่ายในการเข้าใจข้อมูลที่คุณระบุไว้ จากนั้นจึงค่อยปรับปรุงแก้ไขจนกลายเป็นผลงานที่ดีที่สุดของคุณ
โดย กิ๊บส์ คาดิซ
เทคนิคการเขียนเรซูเม่ให้ได้งานดี (การเขียนประวัติส่วนตัว)
เทคนิคการเขียนเรซูเม่ให้ได้งานดี (การเขียนประวัติส่วนตัว)
เชื่อหรือไม่ว่า ประวัติส่วนตัวหรือ Resume ที่จัดทำมาเป็นอย่างดี จะเพิ่มโอกาสได้งานในฝันของคุณ ประวัติส่วนตัวที่ตั้งใจทำ ตั้งใจนำเสนอตัวตนที่น่าสนใจ จะสร้างความประทับใจแก่นายจ้าง ทำให้นายจ้างอยากเห็นตัวจริงของเจ้าของประวัติส่วนตัว และจุดนี้เองที่ทำให้ คุณเข้าใกล้ความฝันอีกขั้นหนึ่ง ด้วยเทคนิคดี ๆ ที่ไม่ควรพลาด
- รู้จักวิเคราะห์ประกาศโฆษณา ประกาศโฆษณารับสมัครงานมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้หางานมากกว่าที่คุณคิด การวิเคราะห์ประกาศรับสมัครงานไม่ได้หมายถึงเฉพาะประกาศรับสมัครงานที่คุณสนใจสมัครงานเท่านั้น แต่รวมถึงประกาศรับสมัครงานอื่นในตำแหน่งเดียวกันหรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะทำให้คุณรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานเหล่านั้น และรู้ว่า คุณสมบัติใดบ้างที่เป็นที่ต้องการของผู้ที่จะทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ และเมื่อนั้นคุณจะสามารถนำเสนอตัวคุณด้วยการเขียนเรซูเม่ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้
- ชี้ให้เห็นปัญหาของนายจ้าง วิธีการหนึ่งในการเขียนประวัติส่วนตัวที่น่าสนใจ ก็คือ การชี้ให้นายจ้างเห็นปัญหาของเขา จากนั้นนำเสนอตัวคุณ และทักษะที่คุณมี ที่คุณคาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ รวมทั้งนำเสนอความมั่นใจของคุณที่จะทำประโยชน์ให้แก่บริษัทได้อย่างไรบ้าง
- นำเสนอสิ่งที่คุณมี ในกรณีที่คุณยังไม่มีประสบการณ์ทำงานจริง สามารถระบุประสบการณ์อื่น ๆ แทนได้ เช่น กิจกรรมที่คุณทำระหว่างเรียน งานPart Time ประสบการณ์ ฝึกงาน หรืองานอาสาสมัครในช่วงปิดภาคเรียน โดยระบุช่วงเวลาที่คุณทำกิจกรรม พร้อมสิ่งที่คุณได้รับ หรือเรียนรู้จากกิจกรรมนั้น
- กล่าวถึงบุคคลสำคัญที่คุณเคยร่วมงานด้วย หากคุณเคยร่วมงานกับผู้มีชื่อเสียงในวงการ หรือแม้แต่เคยมีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับระดับผู้บริหาร คุณไม่ควรพลาดที่จะระบุลงในประวัติการทำงานของคุณด้วย
- ไม่ใส่ข้อมูลที่ไม่สามารถทำได้จริง นายจ้างย่อมไม่ชอบใจแน่หากคุณระบุในประวัติส่วนตัวว่า คุณพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์งาน หรือ สามารถแจ้งข้อมูลบุคคลอ้างอิงได้ทันทีหากนายจ้างร้องขอ ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ระบุเพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบของการเขียนประวัติการทำงานเท่านั้น หากคุณไม่สามารถทำได้ ก็ควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ที่จะทำให้นายจ้างรู้สึกว่า นี่ไม่ใช่เรื่องตลก สำหรับพวกเขา
- อย่าโกหก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้สมัครงานก็ไม่ควรโกหกนายจ้าง เพราะถึงอย่างไร นายจ้างก็สามารถตรวจสอบประวัติของคุณได้อยู่ดีหากเขาต้องการจริง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น การโกหกยังทำลายความน่าเชื่อถือที่คุณมีลงไปด้วย หรือหากนายจ้างรับคุณเข้าทำงาน เขาก็ต้องรู้เข้าในสักวันว่าคุณไม่ใช่เนื้อแท้
- อัปเดตประวัติส่วนตัวเป็นประจำ ประสบการณ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน หากคุณมีผลงานที่น่าประทับใจ หรือได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ได้เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนคุณสมบัติต่าง ๆ คุณควรนำมาเพิ่มไว้ในประวัติส่วนตัวของคุณเป็นประจำ และเมื่อคุณพบตำแหน่งงานที่น่าสนใจ คุณจะสามารถส่งใบสมัครได้ในทันที
- อย่าลืมพื้นฐานสำคัญ สิ่งแรกที่ควรปรากฏในประวัติการทำงาน คือ ชื่อของคุณ ซึ่งควรเป็นตัวหนาและมีขนาดใหญ่กว่าข้อมูลอื่น ๆ หากประวัติส่วนตัวของคุณยาวกว่า 1 หน้า ควรระบุชื่อและหมายเลขติดต่อในทุกหน้าของประวัติการทำงาน โดยหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ ควรเขียนให้ถูกต้องและชัดเจน
รู้หรือไม่ว่า มีผู้หางานหลายคนที่ไม่มีนายจ้างโทรเรียกสัมภาษณ์งาน โดยไม่รู้ตัวว่า เขาระบุหมายเลขโทรศัพท์ผิด ดังนั้นอย่ามองข้ามเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นนี้เป็นอันขาด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)